Last updated: 6 มี.ค. 2562 | 1754 จำนวนผู้เข้าชม |
‘ยาสตรี’ ของดีที่คนรุ่นใหม่มองข้าม
หลายครั้งที่ผู้หญิงมักจะเผชิญกับปัญหาปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือจุกเสียดแน่นท้องระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งโบราณก็มียาตำรับดีๆ ที่นำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้ที่เรียกว่า “ยาสตรี” ซึ่งนอกจากจะมีสรรพคุณครอบคลุมทั้งแก้อาการเกี่ยวกับประจำเดือนต่างๆ แล้ว ยังเป็นยาหลังคลอดบุตรช่วยขับน้ำคาวปลา และเป็นยาบำรุงโลหิตด้วย ด้วยสรรพคุณที่ไม่เพียงแต่ ‘รักษา’ แต่ยังช่วย ‘บำรุง’ นี้เอง จึงส่งผลให้ผู้ที่รับประทานยาสตรีมีสุขภาพดีจากภายใน กล่าวคือ เมื่อเลือดลมไหลเวียนดี ก็ส่งผลให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง สดใส มีน้ำมีนวลขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบันยาสตรีที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีสูตรดั้งเดิมแตกต่างกันไป เช่น ยาสตรีตังกุย เอียงฮ้วยกอ ตราโสมจงเหลียน ที่มีส่วนประกอบของ สมุนไพรไทย และ สมุนไพรจีน หลายชนิด อาทิ โกฐเชียง (ตังกุย) น้ำผึ้ง อากา ตังเซียม เส็กตี่ ฯลฯ หรือ ยาสตรีตังกุย (ชนิดเม็ด) ตรานกเป็ดน้ำ ที่มีส่วนประกอบของโกฐเชียง (ตังกุย) โกฐหัวบัว ตังเซียม อึ้งคี้ ชะเอม โปร่งสน น้ำผึ้ง ฯลฯ หรือในบางตำรับก็มี ขิง ไพล พริกไทย เทียนดำ เทียนแดง อบเชย โกฐสอ ว่านชักมดลูก เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสมุนไพรที่อยู่ในยาสตรีเหล่านี้ โดยเฉพาะ โกฐเชียง และ ว่านชักมดลูก นั้น จะมีสารสำคัญคือ ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงลักษณะของเพศหญิง ตั้งแต่วัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ และนำไปสู่การมีประจำเดือนจนกระทั่งหมดประจำเดือน
ยาสตรี ‘ดี’ เพราะมีส่วนประกอบอะไร?
ในยาสตรีตำรับหนึ่งๆ จะมีสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งเป็นได้เป็น 3 กลุ่มสำคัญ คือ
1. สมุนไพรที่มีฤทธิ์ ขับลม เจริญอาหาร เป็นยาระบายอย่างอ่อน บำรุง ร่างกาย บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียนได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม ดอกจันทน์ น้ำผึ้ง เปลือกส้ม ขิง ข่า ตะไคร้ กานพลู ขมิ้นชัน การบูร ไพล พริกไทย เทียนดำ เทียนแดง แก่นขี้เหล็ก แก่นฝาง
2. สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ว่านชักมดลูก โกฐเชียง(ตังกุย) กวาวเครือขาว
3. แอลกอฮอล์ ใช้เป็นตัวสกัดยาออกจากสมุนไพร
ในทางการแพทย์แผนไทย ถือว่า ‘ยาสตรี’ เป็นยาร้อน บำรุงธาตุไฟ จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด แก้หนาว แก้ปวดประจำเดือนและประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยบำรุงร่างกาย ในผู้หญิงที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถรับประทานยาสตรีได้โดยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีการรับประทานขณะตั้งครรภ์ ที่อาจจะส่งผลรบกวนต่อทารกในครรภ์ ทารกอาจไม่สมบูรณ์ (ขึ้นกับปริมาณและชนิดของยาที่รับประทานเข้าไป) แต่ไม่สามารถขับเลือดได้เพราะมีฤทธิ์อ่อนมาก
กินยาสตรีทำให้อ้วน…จริงหรือ?
เนื่องจากผู้หญิงแต่ละคนมีภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน ทั้งจากวัย สภาวะแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ บางครั้งจึงพบว่าฮอร์โมนตามธรรมชาติในร่างกายของผู้หญิงบางคนจะมีการเสียสมดุลไป ซึ่งเมื่อได้กินยาสตรีเข้าไปช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนแล้ว จะทำให้รอบเดือนเป็นปกติขึ้น และยังมีส่วนเสริมให้การแสดงออกของลักษณะเพศหญิงดีขึ้นด้วย จึงทำให้สุขภาพโดยรวมของผู้หญิงดีขึ้น ส่วนกรณีที่กลัวว่าการกินยาสตรีจะทำให้อ้วนนั้น ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ว่า การกินยาสตรีแล้วจะทำให้อ้วนขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากหลังกินยาสตรีแล้วจะทำให้มีสุขภาพดีขึ้น จึงอาจทำให้กินอาหารได้มากขึ้นนั่นเอง ฉะนั้นหากเราสามารถควบคุมปริมาณของการกินอาหารของตนเองได้
อย่างไรก็ตามเนื่องจากยาสตรีที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นสูตรที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวสกัดเอาสารสำคัญคือ ไฟโตเอสโตรเจน ออกมา จึงมีข้อควรระวังในการใช้ คือ ไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเหล้าได้ นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม หรือข้อควรระมัดระวังในการกินยาสตรีทั่วไปสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ คือ
8 มี.ค. 2562
8 มี.ค. 2562
8 มี.ค. 2562
6 มี.ค. 2563